โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย
โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
พระราชดำริ
ระหว่าง พ.ศ.2510-2518 พื้นที่รอยต่อของจังหวัดเลย จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์ ประสบปัญหาด้านความมั่นคงเนื่องจากการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์จากภายนอกประเทศ ราษฎรถูกผู้ก่อการร้ายรบกวนขัดขวางการประกอบอาชีพได้รับความเดือดร้อน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริให้กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ สำรวจพื้นที่และพระราชทาน พระราชทรัพย์จัดซื้อที่ดินจำนวน 2 แปลง พื้นที่ 39 ไร่ 3 งาน 93 ตารางวา ณ บ้านเดิ่น หมู่ที่ 3 ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เพื่อจัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริ” ทดลองปลูกพืชเมืองหนาวและจัดตั้งธนาคารข้าวตามหมู่บ้าน เพื่อให้ราษฎรมีข้าวบริโภคตลอดปีและอยู่ในพื้นที่ได้โดยไม่ละทิ้งถิ่นฐาน
พ.ศ.2525 หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ มีหนังสือแจ้งพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้กรมปศุสัตว์ใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้จัดซื้อไว้เพื่อดำเนินการ “ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเกษตร” เน้นการเลี้ยงสัตว์ขยายพันธุ์สัตว์ และให้ขอใช้ที่ดินแปลงอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเหมาะสม กรมปศุสัตว์จึงขอใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะข้างเคียงประมาณ 1,200 ไร่ เพื่อจัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริ” แต่เมื่อทำการสำรวจพื้นที่พบว่าที่ดินสาธารณะดังกล่าวเป็นภูเขาสูงและมีราษฎรอาศัยทำกินอยู่แล้วหลายรายไม่สามารถดำเนินการได้ จึงจัดหาพื้นที่ใกล้เคียงเพิ่มเติม ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 116 ไร่ เมื่อสถานการณ์ด้านความมั่นคงเข้าสู่ภาวะปกติ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ได้ส่งมอบโครงการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์รับผิดชอบพื้นที่โครงการตั้งแต่ พ.ศ.2530 เป็นต้นมา ใช้ชื่อ “โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย”
ต่อมา เมื่อวันอังคารที่ 26 มกราคม 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ณ ศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ทรงมีพระราชดำริว่า
“...ในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ประสบปัญหาการขาดแคลนพันธุ์สัตว์อยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร...”
“...ให้ศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นศูนย์กลางในการผลิตพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่จำเป็นและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และส่งเสริมขยายพันธุ์สัตว์ไปยังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ขาดแคลน รวมทั้งพิจารณาส่งเสริมพันธุ์สัตว์พันธุ์ดีให้กับราษฎรที่ยากจนในเขตพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ไม่ไกลจากศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ เพื่อให้ราษฎรสามารถเลี้ยงสัตว์ใช้เป็นอาหารโปรตีน อาจจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยให้ส่วนราชการต่างๆ ร่วมมือกันจัดทำแผนปฏิบัติงานและส่งให้สำนักงาน กปร. พิจารณาดำเนินการสนับสนุนต่อไป...”
ต่อมา วันที่ 16 ธันวาคม 2556 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย โครงการศูนย์พัฒนา ปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย สถานีพัฒนาที่ดินเลย และโครงการชลประทานเลย ดำเนินการพัฒนาที่ดินสาธารณะประโยชน์ป่าโคกดงน้อย ตำบลบ้านเดิ่น อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จำนวน 700 ไร่ ให้เป็นแหล่งผลิตพันธุ์สัตว์พระราชทาน เพื่อพระราชทานให้แก่ราษฎร และโรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการศึกษาวิจัยด้านการปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและส่งเสริมพันธุ์สัตว์พระราชทาน
เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ติดตามผลการดำเนินงานสนองพระราชดำริ ที่พระราชทานให้ไว้แก่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่ที่ดินสาธารณะประโยชน์ป่าโคกดงน้อย ตำบลบ้านเดิ่น อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยมีพระราชประสงค์ ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตพันธุ์สัตว์พระราชทาน เพื่อพระราชทานให้แก่ ราษฎร และโรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งการศึกษาวิจัยด้านการปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและส่งเสริมพันธุ์สัตว์พระราชทาน
หลักการ
โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นเป็นศูนย์กลางการผลิตพันธุ์สัตว์พระราชทาน เพื่อพระราชทานให้แก่ ราษฎร และโรงเรียนในพื้นที่ต่างๆ ตามพระราชประสงค์ รวมทั้งดำเนินการการศึกษาวิจัยด้านการปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและส่งเสริมพันธุ์สัตว์พระราชทาน
พื้นที่ดำเนินการ
โครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย บริเวณที่ดินสาธารณะประโยชน์ป่าโคกดงน้อย ตำบลบ้านเดิ่น อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เนื้อที่ประมาณ 700 ไร่
ผลการดำเนินการในภาพรวม
. 1. แผนงานการผลิตพันธุ์สัตว์พระราชทาน
ได้ดำเนินการผลิตไก่ไข่และเป็ดไข่พระราชทาน รวม ตัว ดังนี้
ปี |
กิจกรรม |
จำนวน (ตัว) |
2556 |
1. การผลิตไก่ไข่พระราชทาน |
2,000 |
2. การผลิตเป็ดไข่พระราชทาน |
500 |
|
2557 |
1. การผลิตไก่ไข่พระราชทาน |
2,000 |
2. การผลิตเป็ดไข่พระราชทาน |
500 |
|
2558 |
1. การผลิตไก่ไข่พระราชทาน |
4,000 |
2. การผลิตเป็ดไข่พระราชทาน |
1,000 |
|
ปี |
กิจกรรม |
จำนวน (ตัว) |
2559 |
1. การผลิตไก่ไข่พระราชทาน |
4,000 |
2. การผลิตเป็ดไข่พระราชทาน |
1,000 |
|
รวม |
1. ผลิตไก่ไข่พระราชทาน |
12,000 |
2. ผลิตเป็ดไข่พระราชทาน |
3,000 |
2. แผนงานศึกษาวิจัย
งานศึกษาวิจัยประกอบด้วยงานศึกษาวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 4 เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษา จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้
ปี |
กิจกรรม |
2557 |
1. การศึกษาสมรรถภาพการผลิตไก่ไข่พันธุ์เล็กฮอร์น |
2. การทดสอบพันธุ์ในโรงเรียน และเกษตรกร |
|
3. ผลของการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังคอก และปล่อยอิสระที่มีต่อองค์ประกอบทางโภชนาการของไข่ไก่ |
|
2558 |
1. การศึกษาไก่ไข่พันธุ์เล็กฮอร์น |
2. ผลการเสริมกากงาม้อนต่อคุณค่าทางโภชนาการและสมรรถภาพการผลิตไข่ไก่ |
|
3. โคชาโรเล่ส์ |
|
2559 |
1. ไก่ไข่พันธุ์เล็กฮอร์น (อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษา) |
2. โคชาโรเล่ส์ (อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษา) |
|
3. งานวิจัยไก่จีน |
|
4. งานวิจัยไก่พื้นเมืองไข่ดก |
|
5. สุกรพันธุ์ซูไท่ |
|
2560 |
1. ไก่ไข่พันธุ์เล็กฮอร์น (อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษา) |
2. โคชาโรเล่ส์ (อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษา) |
|
3. งานวิจัยไก่จีน (อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษา) |
|
4. งานวิจัยไก่พื้นเมืองไข่ดก ((อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษา) |
|
5. สุกรพันธุ์ซูไท่ (อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษา) |
3. แผนงานการขยายผล
การขยายผลสู่เกษตรกร เริ่มดำเนินการในปี 2558 เป็นการนำองค์ความรู้ด้านการปศุสัตว์จากงานศึกษาวิจัย จำนวน 3 เรื่อง ที่ดำเนินการในปี 2557 มาขยายผลสู่เกษตรกร บริเวณพื้นที่รอบโครงการฯ และรวมไปถึงพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดเลย รวมทั้ง นำมาใช้เป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานโครงการไก่ไข่พระราชทานด้วย
ปี |
กิจกรรม |
2558 |
1. งานสนับสนุนพันธุ์สัตว์และปัจจัยการผลิตไก่ไข่ 1.1 ส่งเสริมพันธุ์สัตว์ปีกแก่โรงเรียน 22 โรงเรียน จำนวน 1,050 ตัว 1.2 ส่งเสริมพันธุ์สัตว์ปีกแก่เกษตรกร ไก่ไข่ จำนวน 530 ตัว เป็ด จำนวน 280 ตัว |
2. อบรมเกษตรกรโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 15ราย |
|
2559 |
1. งานสนับสนุนพันธุ์สัตว์และปัจจัยการผลิตไก่ไข่ 1.1 ส่งเสริมพันธุ์สัตว์ปีกแก่โรงเรียน จำนวน 38 โรงเรียน ไก่ไข่ 2,340 ตัว 1.2 ส่งเสริมพันธุ์สัตว์ปีกแก่เกษตรกรและอื่น ๆ ไก่ไข่ จำนวน 3,812 ตัว ไก่ไข่ (เพศผู้) จำนวน 3,860 ตัว และเป็ดไข่ จำนวน 702 ตัว |
2. อบรมเกษตรกรโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ 15 ราย |
4. แผนงานอำนวยการ
ดำเนินการจัดจ้างบุคลากรในการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่ ปี 2557 มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน และพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามแนวพระราชดำริ นอกจากนี้ ยังได้จัดซื้อรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ และรถยนต์บรรทุก ขนาด 1 ตัน เพื่อใช้ในการขนส่งสัตว์พระราชทานไปยังพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งใช้ในการขนส่งวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
ปี |
กิจกรรม |
2557-2560 |
1. จัดจ้างบุคลากร ประกอบด้วย นักวิชาการเกษตร ธุรการ ผู้ช่วยสัตวบาล |
2. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเกษตร และสำนักงาน |
|
2558 |
1. ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง (รถบรรทุก 6 ล้อ) |
2. การพัฒนาบุคลากร |
|
2559 |
1. จัดซื้อรถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก |
5. แผนงานการก่อสร้าง
การดำเนินงานโครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในพื้นที่ที่ดินสาธารณะประโยชน์ป่าโคกดงน้อย ตำบลบ้านเดิ่น อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เนื้อที่ 700 ไร่ ประกอบด้วนการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง ดังนี้
ปี |
กิจกรรม |
2557 |
1. สะพาน ค.ส.ล. กว้าง 7 เมตร ยาว 20 เมตร ทางเท้าข้างละ 0.5 เมตร จำนวน 1 แห่ง |
2558 |
1. ก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ ขนาด 4 X 12 เมตร จำนวน 6 หลัง |
2. ก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงเป็ด ขนาด 4 X 5 เมตร จำนวน 6 หลัง |
|
3. ก่อสร้างโรงพักโค ขนาด 5 X 15 เมตร จำนวน 1 หลัง |
|
4. ก่อสร้างโรงเก็บหญ้าแห้ง ขนาด 5 X 12 เมตร จำนวน 1 หลัง |
|
5. ก่อสร้างโรงเก็บแกลบ ขนาด 5 X 12 เมตร จำนวน 1 หลัง |
|
6. ก่อสร้างรั้ว ค.ส.ล. สำเร็จรูป สูง 1.2 เมตร ยาว 340 เมตร (กั้นลานปล่อยโค) |
|
7. ก่อสร้างรั้วลวดหนาม สูง 2 เมตร ยาว 2 กิโลเมตร. |
|
8. ก่อสร้างระบบไฟฟ้าในพื้นที่ |
|
9. ก่อสร้างระบบประปาในพื้นที่ |
|
10. ก่อสร้างถนนลูกรัง กว้าง 6 เมตร (กว้าง 4 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 1 เมตร) ระยะทาง 1,400 เมตร |
|
11. ปรับปรุงพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารสำนักงาน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และแปลงหญ้า อาหารสัตว์ พื้นที่รวม 30 ไร่ |
|
12. ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 1 บ่อ |
|
13. การก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ (ชั่วคราว) จำนวน 2 หลัง |
|
2559 |
1. ก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ขนาด 8 X 10 เมตร จำนวน 5 โรง |
2. ก่อสร้างโรงฆ่าเชื้อ ขนาด 3 X 5 เมตร จำนวน 1 โรง |
|
3. ก่อสร้างโรงเรือนปรับปรุงสุกรพันธุ์ ขนาด 14 X 19 เมตร จำนวน 1 หลัง |
|
4. โรงเรือนทดสอบสุกรพันธุ์ ขนาด 14 X 19 เมตร จำนวน 1 หลัง |
|
2560 |
1. ก่อสร้างถนน คสล. ความยาว 1500 เมตร พร้อมรางระบายน้ำ |
2. ก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงโค ขนาด 5.00 X 15.00 เมตร จำนวน 1 หลัง |
|
3. ก่อสร้างผังรั้วรอบบริเวณคอกสุกร |
|
4. บ้านพักคนงาน 2 ครอบครัว จำนวน 2 หลัง |
การดำเนินงานโครงการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ป่าโคกดงน้อย เป็นการดำเนินงานสนองพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการที่จะสนับสนุนพันธุ์สัตว์พระราชทานและวิธีการที่ผ่านการศึกษาวิจัยแล้วว่า สามารถเลี้ยงได้ง่าย ใช้วิธีการไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน และต้นทุนต่ำ ขณะเดียวกัน ยังได้ผลผลิตอาหารโปรตีนตามความต้องการอย่างเป็นรูปธรรม ดังจะเห็นได้จากการที่พระราชทานพระราชดำริให้สนับสนุนสัตว์พระราชทานให้แก่ โรงเรียน และเกษตรกรอย่างกว้างขวาง จนในปัจจุบันมีไก่ไข่ และเป็ดไข่พระราชทานกว่า 20,000 ตัว กระจายไปสู่พื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว สุรินทร์ บึงกาฬ เลย น่าน ตาก เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน สร้างประโยชน์ให้แก่ โรงเรียน 71 โรง และเกษตรกร ประมาณ 2,100 ครอบครัว
นอกจากนี้ ในการดำเนินงานยังได้ศึกษาวิจัยด้านการปศุสัตว์ในการที่จะหาพันธุ์สัตว์พระราชทานพันธุ์ใหม่ ที่ดี มีคุณภาพ สามารถเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกร ทั้ง ไก่ไข่ สุกร และโคชาโรเล่ส์
6. ผลสำเร็จของงาน
6.1 เชิงปริมาณ
ผู้รับการประเมินได้ดำเนินการวิเคราะห์โครงการตั้งแต่ ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า และผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิชัยพัฒนาที่ว่า “เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพัฒนาอื่นๆ และเพื่อส่งเสริม การพัฒนาสงเคราะห์และช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น และให้สามารถช่วยตัวเองและพึ่งตนเองได้” จึงไม่ได้พิจารณาถึงความคุ้มทุน แต่หากมองถึงประโยชน์ที่ประชาชนได้รับแล้ว สามารถผลิตสัตว์พระราชทานและส่งมอบให้แก่โรงเรียน 71 โรง เกษตรกร 2,100 ครัวเรือน ในพื้นที่ 10 จังหวัด ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย |
สัตว์พระราชทาน |
จำนวน (ตัว) |
จำนวนไข่ (ฟอง) |
1. โรงเรียน 71 โรง |
ไก่ไข่ |
3,090 |
61,000 |
2. เกษตรกร 2,100 ครัวเรือน (พื้นที่ 10 จังหวัด) |
ไก่ไข่ |
10,567 |
2,113,400 |
ไก่ไข่ (เพศผู้) |
5,290 |
- |
|
เป็ดไข่ |
1,082 |
216,400 |
|
|
รวม |
20,029 |
2,355,900 |
นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรได้รับอบรมการเลี้ยงโคเนื้อ 45 ราย เพื่อเป็นการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึง ผลการศึกษาวิจัย จำนวน 3 เรื่อง ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงไก่ไข่พระราชทานให้แก่โรงเรียนและเกษตรกร
6.2 เชิงคุณภาพ
6.2.1 การศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังคอก และปล่อยอิสระที่มีต่อองค์ประกอบทางโภชนาการของไข่ไก่พบว่า ไก่เลี้ยงในระบบปล่อยอิสระ มีสมรรถภาพการผลิตสูงกว่าไก่เลี้ยงในระบบขังคอก ดังนี้
1) ไก่ไข่พันธุ์กรมปศุสัตว์ 1 (พันธุ์ไก่ไข่พระราชทาน) เมื่อเลี้ยงในระบบปล่อยอิสระให้ผลผลิตเฉลี่ย 255.6 ฟอง/ปี ซึ่งสูงกว่าการเลี้ยงระบบขังคอกที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 246.0 ฟอง/ปี
2) คุณภาพของไข่ที่ได้จากการเลี้ยงโดยระบบปล่อยอิสระต่ำระบบขังคอกเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในเกรดสูงสุดตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA)
3) ต้นทุนการผลิตของระบบปล่อยอิสระยังต่ำกว่าระบบขังคอก นอกจากนี้ ยังมีรายงานการศึกษาวิจัยได้พบว่า การเลี้ยงไข่ไก่ระบบปล่อยอิสระเมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงระบบกรงตับ มีโอเมก้า 3 สูงกว่า 3 เท่า มีวิตามิน E และ A มากกว่า 220 และ 62 % ตามลำดับ
6.2.2 การศึกษาสมรรถภาพการผลิตไก่ไข่พันธุ์เล็กฮอร์น พบว่า ให้ไข่สะสมเฉลี่ย 272.81 ฟอง/ปี ซึ่งเป็นอัตราการให้ผลผลิตที่สูง แต่มีข้อเสีย คือ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ไม่ดี ดูแลยาก ควรนำไปใช้ประโยชน์ในการผสมพันธุ์ไก่ไข่พันธ์ใหม่
6.2.3 ผลการเสริมกากงาม้อนต่อคุณค่าทางโภชนาการและสมรรถภาพการผลิตไข่ไก่ พบว่า การเสริมกากงาม้อน 5 และ 10 % ในอาหารไก่ไข่ช่วยให้กรดไขมันโอเมก้า 3 ในไข่เพิ่มขึ้น 3 และ 6 เท่าเมื่อ เทียบกับกลุ่มที่ไม่เสริม และกลุ่มที่เลี้ยงในกรงตับ
6.2.4 จากการสนับสนุนไก่ไข่พระราชทานให้แก่โรงเรียนใน “โครงการไก่ไข่พระราชทานในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร พื้นที่จังหวัดตาก” ส่งผลให้นักเรียน จำนวน 9,522 คน ใน 47 โรงเรียนได้บริโภคไข่ไก่ และไข่เป็ดซึ่งผลิตได้เองในโรงเรียน เป็นไข่ที่สด สะอาด และปลอดภัย อีกทั้ง ยังเป็นการลดภาระของครูในโรงเรียนที่ต้องซื้อไข่จากตัวอำเภอหรือจังหวัดตาก แล้วขนขึ้นไปที่โรงเรียน
6.2.5 นักเรียนและเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนไก่ไข่พระราชทานไปเลี้ยง จะต้องผ่านการอบรมทางวิชาการในเรื่องของการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยแบบอิสระ และการผลิตอาหารโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ที่ติดตัวนักเรียนและเกษตรกรสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมได้
6.2.6 การผลิตอาหารสัตว์โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นซึ่งทำให้สามารถผลิตอาหารใช้ได้เอง ไม่ต้องขนส่งระยะทางไกลและลำบาก นอกจากนี้ ยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตไก่ไข่ได้อีกทางหนึ่ง จากการศึกษาวิจัยของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กองคี อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ได้นำวิธีการเลี้ยงไก่ไข่โดยใช้อาหารที่ผลิตโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นไปใช้ สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ เฉลี่ย 2 บาท/ฟอง
7. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นเเละการนำไปใช้ประโยชน์
จากการดำเนินงานโครงการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
7.1 ใช้รูปแบบการดำเนินงานโครงการผลิตพันธุ์สัตว์พระราชทานที่สามารถผลิตพันธุ์สนับสนุนให้แก่โรงเรียน และเกษตรกรทันต่อความต้องการ และเป็นรวบรวมพันธุ์สัตว์พระราชทานโดยไม่ต้องพึ่งหน่วยงานอื่น รวมทั้ง เป็นแหล่งศึกษาวิจัยด้านการปศุสัตว์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เป็นต้นแบบของการดำเนินงานโครงการในพื้นที่อื่นๆ
7.2 นำรูปแบบการเลี้ยงไก่ไข่พระราชทานที่ใช้ “ไก่ไข่พันธุ์กรมปศุสัตว์ 1 เลี้ยงแบบปล่อยอิสระโดยใช้อาหารที่ผลิตโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น” ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และต้นทุนต่ำ สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของแต่ละท้องถิ่น บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปส่งเสริมเผยแพร่และขยายผลให้แก่ โรงเรียน และเกษตรกรที่สนใจให้มากยิ่งขึ้น
พื้นที่โครงการบริเวณคอกเลี้ยงโค
พื้นที่โครงการบริเวณคอกผลิตไก่ไข่พระราชทาน
พื้นที่โครงการบริเวณคอกผลิตไก่ไข่พระราชทา
ไก่ไข่พระราชทานพันธุ์กรมปศุสัตว์ 1
ไก่ไข่พระราชทานพันธุ์กรมปศุสัตว์ 1
โคชาโรเล่ส์
การส่งมอบไก่ไข่พระราชทานให้แก่โรงเรียน
การอบรมการผลิตอาหารสัตว์โดยใช้วาดุในท้องถิ่นให้แก่นักเรียน
การอบรมการผลิตอาหารสัตว์โดยใช้วาดุในท้องถิ่นให้แก่นักเรียน
การอบรมการผลิตอาหารสัตว์โดยใช้วาดุในท้องถิ่นให้แก่เกษตรกร
การส่งมอบไก่ไข่พระราชทานให้แก่เกษตรกร