- หน้าแรก
- 30 ปีมูลนิธิชัยพัฒนา
- 30 เรื่องพิเศษ
- เรื่อง “Genius”
เรื่อง “Genius”
12 กุมภาพันธ์ 2524
ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบริเวณต้นน้ำแม่แตงในพื้นที่โครงการหลวงแกน้อย และโครงการหลวงพัฒนาที่ดินห้วยลึก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยทรงให้พิจารณาบริเวณที่เหมาะสมเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก กระทั่ง...
19 ตุลาคม 2547
หรือ 23 ปีต่อมา พระราชดำริดังกล่าวยังไม่ปรากฏเป็นรูปร่าง ในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ ได้รับสั่งถึงเรื่องดังกล่าวอีกครั้งขณะเสด็จฯ ไปงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดขึ้นที่เมืองทองธานี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และผู้ที่ตามเสด็จวันนั้นจึงไม่เข้าใจว่ามีรับสั่งถึงเรื่องอะไรและอยู่ที่ไหน
ต่อมา ดร.สุเมธและคณะสำรวจได้สนองพระราชดำริด้วยการออกสืบค้นข้อมูล โดยลงพื้นที่จุดแรกที่ “ถ้ำเชียงดาว” แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ บังเอิญวันนั้นเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ที่กรุงเทพฯ ได้เข้าเฝ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ คณะสำรวจจึงโชคดีได้รับพระมหากรุณาธิคุณผ่านทางโทรศัพท์ โดยมีรับสั่งว่า “โครงการหลวงห้วยลึก” ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อได้ทราบ “คีย์เวิร์ด” เพิ่มเติม คณะสำรวจพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชลประทานจึงเดินทางไปทันที และได้นำความกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าของการสำรวจ ภายหลังในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระเมตตา พระราชทานลายพระหัตถ์กำหนดพิกัดเป็น “เครื่องหมายกากบาท 3 จุดลงในแผนที่” ซึ่งในที่สุดพบว่าคือภูเขาหินปูนที่ภายในมีโพรงถ้ำขนาดใหญ่ สามารถกักเก็บน้ำได้ตามพระราชประสงค์
เมื่อการก่อสร้างสันเขื่อนหน้าปากถ้ำระดับความสูง 12.5 เมตรแล้วเสร็จ ด้วยงบประมาณเพียง 13.5 ล้านบาท...
3 สิงหาคม 2549
กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ มาทรงเปิด “โครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ (ถ้ำห้วยลึก)” โครงการที่มีวิธีการกักเก็บน้ำแบบใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งช่วยลดการระเหยของน้ำทำให้ระดับน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น พื้นดินจึงมีความชุ่มชื้นขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้เมื่อถึงฤดูแล้ง พื้นที่ก็จะแห้งแล้ง ส่วนในฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลเรื่อยออกมาจากถ้ำไปตามลำน้ำเล็ก ๆ ทว่าน่าเสียดายที่ไม่ได้มีการกักเก็บไว้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด
“ทีแรกพอหน้าแล้งเห็นน้ำแห้ง นึกว่าไม่สำเร็จ แต่เมื่อไปสำรวจบ่อน้ำชาวบ้านข้างล่าง น้ำเต็มหมด เกิดจากกระบวนการค่อยเติม คือช่วยชะลอน้ำให้ค่อย ๆ ไหลลงไปข้างล่างเพื่อให้ผ่านฤดูกาลนั้นไปได้”
แต่ทราบหรือไม่ว่า กว่า “อ่างเก็บน้ำในถ้ำ” (ที่เกือบถูกลืม) จะได้รับการยอมรับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับเมืองไทยและของโลก แม้คณะทำงานเองก็ยังไม่เข้าใจถึงประโยชน์ของการ “ซึม” คิดเพียงว่าเกิดการ “รั่ว” ของน้ำ ถึงขนาดจะอุดด้วยสเปรย์ซีเมนต์ เพราะมุ่งแต่ว่าน้ำต้องเก็บในถ้ำให้ได้ โดยลืมคิดถึงการซึมโดยใช้กระบวนการธรรมชาติ
ผู้เชี่ยวชาญถึงกับต้องส่งอีเมลคุยกับเพื่อนชาวต่างชาติ ว่าเคยทำเขื่อนปิดปากถ้ำหินปูนหรือไม่ กระทั่งเพื่อนคนหนึ่งถามกลับมาว่า ใครเป็นคนคิดทำสิ่งนี้
“My King”
ข้อความที่ตอบกลับมาคือ…
“Genius”
ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรบริเวณต้นน้ำแม่แตงในพื้นที่โครงการหลวงแกน้อย และโครงการหลวงพัฒนาที่ดินห้วยลึก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยทรงให้พิจารณาบริเวณที่เหมาะสมเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก กระทั่ง...
19 ตุลาคม 2547
หรือ 23 ปีต่อมา พระราชดำริดังกล่าวยังไม่ปรากฏเป็นรูปร่าง ในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ ได้รับสั่งถึงเรื่องดังกล่าวอีกครั้งขณะเสด็จฯ ไปงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดขึ้นที่เมืองทองธานี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล และผู้ที่ตามเสด็จวันนั้นจึงไม่เข้าใจว่ามีรับสั่งถึงเรื่องอะไรและอยู่ที่ไหน
ต่อมา ดร.สุเมธและคณะสำรวจได้สนองพระราชดำริด้วยการออกสืบค้นข้อมูล โดยลงพื้นที่จุดแรกที่ “ถ้ำเชียงดาว” แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ บังเอิญวันนั้นเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ที่กรุงเทพฯ ได้เข้าเฝ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพฯ คณะสำรวจจึงโชคดีได้รับพระมหากรุณาธิคุณผ่านทางโทรศัพท์ โดยมีรับสั่งว่า “โครงการหลวงห้วยลึก” ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อได้ทราบ “คีย์เวิร์ด” เพิ่มเติม คณะสำรวจพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชลประทานจึงเดินทางไปทันที และได้นำความกราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าของการสำรวจ ภายหลังในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระเมตตา พระราชทานลายพระหัตถ์กำหนดพิกัดเป็น “เครื่องหมายกากบาท 3 จุดลงในแผนที่” ซึ่งในที่สุดพบว่าคือภูเขาหินปูนที่ภายในมีโพรงถ้ำขนาดใหญ่ สามารถกักเก็บน้ำได้ตามพระราชประสงค์
เมื่อการก่อสร้างสันเขื่อนหน้าปากถ้ำระดับความสูง 12.5 เมตรแล้วเสร็จ ด้วยงบประมาณเพียง 13.5 ล้านบาท...
3 สิงหาคม 2549
กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ มาทรงเปิด “โครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ (ถ้ำห้วยลึก)” โครงการที่มีวิธีการกักเก็บน้ำแบบใหม่ซึ่งยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งช่วยลดการระเหยของน้ำทำให้ระดับน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น พื้นดินจึงมีความชุ่มชื้นขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้เมื่อถึงฤดูแล้ง พื้นที่ก็จะแห้งแล้ง ส่วนในฤดูน้ำหลาก น้ำจะไหลเรื่อยออกมาจากถ้ำไปตามลำน้ำเล็ก ๆ ทว่าน่าเสียดายที่ไม่ได้มีการกักเก็บไว้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด
“ทีแรกพอหน้าแล้งเห็นน้ำแห้ง นึกว่าไม่สำเร็จ แต่เมื่อไปสำรวจบ่อน้ำชาวบ้านข้างล่าง น้ำเต็มหมด เกิดจากกระบวนการค่อยเติม คือช่วยชะลอน้ำให้ค่อย ๆ ไหลลงไปข้างล่างเพื่อให้ผ่านฤดูกาลนั้นไปได้”
แต่ทราบหรือไม่ว่า กว่า “อ่างเก็บน้ำในถ้ำ” (ที่เกือบถูกลืม) จะได้รับการยอมรับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับเมืองไทยและของโลก แม้คณะทำงานเองก็ยังไม่เข้าใจถึงประโยชน์ของการ “ซึม” คิดเพียงว่าเกิดการ “รั่ว” ของน้ำ ถึงขนาดจะอุดด้วยสเปรย์ซีเมนต์ เพราะมุ่งแต่ว่าน้ำต้องเก็บในถ้ำให้ได้ โดยลืมคิดถึงการซึมโดยใช้กระบวนการธรรมชาติ
ผู้เชี่ยวชาญถึงกับต้องส่งอีเมลคุยกับเพื่อนชาวต่างชาติ ว่าเคยทำเขื่อนปิดปากถ้ำหินปูนหรือไม่ กระทั่งเพื่อนคนหนึ่งถามกลับมาว่า ใครเป็นคนคิดทำสิ่งนี้
“My King”
ข้อความที่ตอบกลับมาคือ…
“Genius”